บ้านทรงกล่องสไตล์โมเดิร์น บ้านสไตล์โมเดิร์น ภาพแรกที่หลายคน นึกถึงคงจะเป็นบ้าน สี่เหลี่ยมทรงกล่อง รูปทรงแปลกตา แต่ขณะเดียวกันก็สวยงามทันสมัย เรียบง่ายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยบ้านทรงกล่องนี้นั้น ได้รับอิทธิพลมา จากสถาปัตยกรรมตะวันตก
ส่วนใหญ่มักอ้างอิงแบบมา จากต่างประเทศซึ่งลักษณะของ บ้านโมเดิร์นมีทั้งแบบชั้นเดียว และ 2-3 ชั้น ตัวบ้านมักจะกลมกลืนไปกับส่วนของหลังคา เกิดเป็นทรงกล่อง บ้างก็ไล่ระดับหลังคา ให้ดูมีลูกเล่นที่หลากหลายมากขึ้น
บ้านทรงกล่องสไตล์โมเดิร์น
บ้านสไตล์โมเดิร์น เน้นความโปร่งโล่ง มีการออกแบบพื้นที่โล่ง เพื่อการใช้สอย ไม่นิยมก่อผนังกั้น มากเกินไป มีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นระเบียบ เรียบง่าย ไม่เยอะ การสร้างผนังแบบปูนเปลือย ที่ไม่จำเป็นต้องทาสี พื้นบ้านที่ไม่ต้องมีการปูกระเบื้อง
แบบที่ 1 บ้านสไตล์โมเดิร์น
หากพูดถึงบ้านโมเดิร์น เราคงนึกถึงเส้น ฟังก์ชัน สี วัสดุที่น้อยๆ ไม่มาก แต่กลับรู้สึกว่าเต็มอิ่มได้มีขาดไม่เกิน นั่นคงพอแสดงให้เห็นว่า บางครั้งเราเพียงเลือกสิ่งที่จับคู่เข้ากันได้มาอยู่ด้วยกัน จัดหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน ให้ทุกพื้นที่ของบ้านตอบโจทย์ชีวิตแบบไม่ต้องซับซ้อนก็เพียงพอที่จะสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่รู้สึกสบายพร้อมรับการใช้งานได้อีกหลายๆ ปี เหมือนบ้านหลังนี้ที่องค์ประกอบหลักๆ ไม่มาก แต่ให้ความสุขได้ไม่น้อย
การออกแบบที่อยู่อาศัยในลีมาซอลเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไซปรัสนี้ โดดเด่นด้วยการต้นแบบของบ้านสมัยใหม่ ใส่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ดูบริสุทธิ์ตรงไปตรงไปตรงมา ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์เป็นอาคารที่เส้นสายเรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งที่เกินความจำเป็น องค์ประกอบของบ้านเป็นสองชั้นใช้สีและวัสดุเป็นตัวระบุพื้นที่ใช้งาน คือ สีขาวสำหรับพื้นที่ส่วนกลาง คอนกรีตเปลือยสำหรับพื้นที่ส่วนตัว แทรกด้วยวัสดุไม้ที่ฟาซาดให้รู้สึกว่าบ้านไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
จากด้านหน้าที่เหมือนเป็นกล่องสองกล่องวางทับซ้อนกัน เมื่อเข้าสู่รูปด้านข้างภายในจะเป็นว่าในกล่องชั้นล่างยังแบ่งย่อยออกไป เพื่อแยกกันให้เกิดพื้นที่ว่างระหว่างตัวอาคาร แต่ละกล่องแต่ละพื้นที่ใส่ฟังก์ชันใช้งานที่ต่างกันไปเรียงตามความต้องการใช้งานไม่มีความซับซ้อน
ส่วนสำคัญขององค์ประกอบบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ ทิศทางแสง ลม และการใช้งานแบบเข้าใจได้ง่ายๆ สถาปนิกจึงจัดให้มีห้องโถงขนาดเล็กที่ชั้นล่างมีผนังกระจกสูงจากพื้นถึงเพดาน
ซึ่งจะให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้าไปยังพื้นที่ส่วนกลางภายใน และตอบสนองต่อสภาพการระบายอากาศแบบข้ามช่องตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ปริมาตรของอาคารชั้น 1 ที่ขยายออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทำพื้นขยายเพิ่มออกไปอีกหลายเมตร สร้างพื้นที่กลางแจ้งที่มีหลังคาคลุมให้การป้องกันแสงแดดและฝน ชวนให้ออกมานั่งรับบรรยากาศชิลๆ และเชื่อมต่อกับสนามหญ้ารอบบ้านได้ง่ายขึ้น
ภายในชั้นล่างออกแบบพื้นที่ให้โล่งด้วยแปลนแบบเปิด open plan ไม่มีผนังแบ่งกั้นห้องเล็กห้องน้อย ประกอบด้วย ห้องรับแขก ห้องทานข้าวที่เชื่อมต่อกันอย่างไหลลื่น เฟอร์นิเจอร์มีเฉพาะเท่าที่จำเป็นอย่างที่ตั้งใจ ส่วนพื้นบ้านปูด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่สีคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุตกแต่งภายในที่ใช้ในเกือบทุกห้องของบ้าน ผนังทาสีขาว ไม่มีอะไรหวือหวาแต่ก็อยู่สบายๆ บ้านหรู
บ้านสไตล์โมเดิร์นจะเน้นความโปร่งโล่ง ไม่นิยมก่อผนังกั้นมากเกินไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานให้ยืดหยุ่นและลื่นไหล มีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นระเบียบ เรียบง่าย ไม่เยอะ แต่ขณะเดียวกันก็ออกแบบให้มีบรรยากาศแบบเรียบหรูได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านว่าต้องการให้ภาะโดยรวมออกมาเป็นอย่างไร
แบบที่ 2 บ้านทรงกล่องสไตล์โมเดิร์น แบ่งเป็น 3 ส่วน ถ้าดีกว่าก็ลองแยกกัน
ถ้าให้เลือกระหว่างบ้านที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวใหญ่ ๆ ไปเลย กับบ้านที่แยกสัดส่วนออกจากกัน ผู้อ่านชอบแบบไหนครับ สำหรับคนที่ชอบแบบหลังอาจจะด้วยความแปลกหรือเหตุผลของการใช้งาน น่าจะชอบบ้านหลังนี้ที่ออกแบบและตกแต่งโดย Marià Castelló ผู้เป็นเจ้าของบ้านเอง
ซึ่งพยายามดีไซน์อาคารด้วยมุมมองที่ลึกซึ้งจากภายในบ้านและมองผ่านเฉลียง เพื่อให้บ้านเข้ากันได้กับภูมิประเทศที่ราบเรียบเต็มไปด้วยด้วยสีที่นุ่มนวลอบอุ่นของผืนดิน สีเขียวของต้นอัลมอนด์และต้นมะเดื่อ ไกลออกไปเป็นทุ่งข้าวสาลีและข้าวโอ๊ต จึงต้องการเปิดรับมุมมองในบางจุดและต้องปิดเพื่อปกป้องจากแสงและเพิ่มความเป็นส่วนตัว
บ้านกล่อง ขนาด 94 ตารางเมตร ชื่อ ‘Es Pou’ ตั้งอยู่บนเกาะ Formentera ของสเปน และอยู่ติดกับ ‘Es Pou de can Marianet Barber’ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์นี้ เป็นรูปลักษณ์ทรงกล่องไม่มีกันสาดไม่มีชายคาสไตล์โมเดิร์น
แต่ไม่ได้เป็นก้อนเดียว จากการพิจารณาลักษณะที่ดิน ทิศทางลม ทิศทางแสง ภูมิอากาศแล้ว ประกอบกับลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว แทนที่นักออกแบบจะสร้างอาคารใหญ่ ๆ หลังเดียวไปเลย แต่กลับเลือกแบ่งตัวอาคารออกเป็นทรงกล่องสามกล่องจัดลำดับจากใต้สู่เหนือ แต่ละกล่องจะมีฟังก์ชันใช้งานของตัวเอง
กล่องแรกเป็นจุดที่รับแสงมากที่สุด จึงทำเป็นเหมือนศาลาโล่ง ๆ ให้นั่งเล่นรับบรรยากาศและใช้อาบแดดในช่วงเดือนที่หนาวที่สุดของปี นอกจากนี้ช่วยทำหน้าที่ในการป้องกันแสงอาทิตย์ไม่ให้กระทบส่วนอื่น ๆ ของบ้านในฤดูร้อน ส่วนกล่องที่สองจะเป็นพื้นที่ใช้งานสาธารณะ และกล่องที่สามเป็นห้องนอนสองห้อง
ในแต่ละกล่องจะใส่ช่องว่างเป็นทางเดิน มีผนังบล็อกช่องลมซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย ทั้งแยกปริมาตรอาคารออกจากกันพร้อมกับเชื่อมต่ออาคารในคราวเดียวกัน ช่องว่างเหล่านี้ยังช่วยให้ระบายอากาศ รับแสงสว่าง พรางสายตาผู้คนที่อาจผ่านไปมาได้ด้วย
จากโซนนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้ง กระจายความอบอุ่นของผืนดินรอบบ้านส่งต่อเข้ามาสู่ภายในผ่านการเลือกสรรวัสดุและสีที่เข้ากันได้อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นทางเท้าและพื้นบ้านที่ปูแผ่นดินเผาขึ้นรูปด้วยวิธีการกดอัดพิมพ์ เพดานโค้งเป็นเหมือนลอนคลื่นที่กรุด้วยเซรามิกสไตล์มาจอร์แคน ซึ่งกระเบื้องดินเผาแบบนี้ยังถูกใช้เพื่อแก้ปัญหาองค์ประกอบอื่นๆ
เช่น การหุ้มส่วนหน้า การทำหลังคา หัวเตียงของห้องนอนใหญ่ รวมไปถึงการเลือกใช้งานไม้สีธรรมชาติ ของใช้ของตกแต่งที่ให้อารมณ์แบบบ้าน ๆ ในห้องนั่งเล่นวางเก้าอี้มีเท้าแขนที่ออกแบบโดย Josep Torres Clavé ในปี 1934 สำหรับโชว์ฝน Pavilion of the Spanish Republic ที่งานนิทรรศการนานาชาติปี 1937 ในกรุงปารีส
ตัวอย่างวัสดุที่นักออกแบบกำหนดเอาไว้ จะเห็นว่าเนื้อสัมผัส โทนสี คลุมโทนแบบ earth tone สีน้ำตาลอมส้มของดินเผา สีเขียว ไม้สีอ่อนตามธรรมชาติ การวางแผนแบบนี้จะทำให้บ้านเป็นไปในทิศทางเดียวกันไม่หลุดกรอบ
กล่องตรงกลางจะวางแปลนแบบเปิด open plan ไม่มีผนังกั้นระหว่างฟังก์ชันมุมนั่งเล่นผิงไฟ โต๊ะทานอาหาร และครัวเล็ก ๆ ที่อยู่มุมสุดของบ้าน ทุกพื้นที่จึงโล่งสามารถสัญจรได้อย่างลื่นไหล เข้าถึงกันได้หมด และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย ๆ
เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเป็นบิลท์อินเฉพาะตัวในสถาปัตยกรรม ทั้งในมุมผิงไฟ ตู้เสื้อผ้าในห้องนอน และครัวเคาน์เตอร์เดียวก่อชิดชิดติดผนัง ไม่กินพื้นที่มากแสดงถึงความต้องการใช้งานที่ค่อนข้างน้อย ส่วนหน้าบานเป็นไม้ลายและสีอ่อน ๆ ตามธรรมชาติ ให้ลุคแบบโมเดิร์นมินิมอลได้กลิ่นอายช่างฝีมือชาวเมดิเตอร์เรเนียน สวยแบบเคลียร์ ๆ ซึ่งจุดอื่น ๆ ของบ้านก็ตกแต่งด้วยคอนเซ็ปเดียวกัน
โทนสีกลาง ๆ เรียบง่าย การตกตแ่งน้อย ๆ ไม่รกตา ที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ทุกครั้งที่เข้ามาถึงห้องนอนต้องอยากเอนกายลงไปงีบนอนหลับให้เต็มอิ่ม พร้อมสำหรับการลุกขึ้นมายิ้มรับกับวันใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ในห้องน้ำใส่ความรู้สึกสดชื่นผ่าน กระเบื้องเคลือบเซรามิกสีเขียว ที่เกี่ยวข้องกับสีของพืชมากกว่าจุดอื่น ๆ ตัดกับผนังสีขาวและพื้นสีส้มอิฐ ผนังด้านนอกห้องสองด้านติดตั้ง บล็อกช่องลมช่วยแสงกรองที่จะสาด ส่องเข้าด้านในผ่านช่องเล็ก ๆ เหล่านั้น ทำให้เกิดแสงและเงาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงของวัน บรรยากาศของห้องน้ำจึงโปร่งโล่ง สว่าง ไม่ชื้น และเหมือนได้ใช้เวลาทำธุระส่วนตัวท่ามกลางธรรมชาติ
ความสอดคล้องและความกลมกลืน ของบ้านนอกจากจะผ่านจากวัสดุแล้ว ยังใช้กลไกของแสงเข้ามาช่วย ทำให้วัสดุที่แตกต่างหลอดไฟฟ้าพอร์ซเลนที่เคลือบด้วยสีขาวที่ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน เช่น มุมนั่งเล่น หัวเตียงของห้องนอนใหญ่ ห้องสุขา และไฟซ่อนหลืบที่ให้สีของแสงอุ่น ๆ แบบ warm white เหมือนกัน
กล่องหลังแรกมีด้านหนึ่งเปิดผนังโล่งออกสู่ภูมิทัศน์ได้อย่างสมบูรณ์ ระเบียงที่นั่งเล่นได้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น แสงยามสนธยาของที่นี่ต้องใช้เวลาจึงจะค่อย ๆ จางหายไปยืดห้วงเวลาแห่งความสุข ณ ที่แห่งนี้ให้นานขึ้น เมื่อความมืดมาเยือนแสงอาทิตย์หายไปแสงภายในอันวิจิตรงดงามจะมาแทนที่สร้างบรรยากาศที่แตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืนที่แตกต่าง
หลังคาแบน (Slab) เป็นรูปแบบที่มักใช้ในบ้านสไตล์โมเดิร์น หลังคามีลักษณะเดียว กับดาดฟ้า ด้วยความแบนเรียบทำให้พื้นที่หน้าตัดมากรับแสงได้มากหลังคาจึงมักเกิด ความร้อนสะสม หากไม่มีฉนวนป้องกันความร้อน ที่ดีจะทำให้พื้นที่ใต้หลังคาร้อนอบอ้าว
ปัญหาอื่นที่มักพบได้บ่อย เช่น พื้นคอนกรีตเกิดการแตกร้าว รั่วซึม เพราะฉะนั้นหลังคาประเภทนี้ ควรมีระบบกันร้อนกันซึมที่ดี วิธีการลดทอนความร้อนจากหลังคาสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การใส่ฉนวน การจัดสวนบนหลังคา แต่ต้องคำนวนการรับน้ำหนักของหลังคาเอาไว้ด้วย