ไอเดียต่อเติมห้องข้างบ้าน ถ้าพูดถึงเทรนด์ที่ กำลังมาแรงในปี 2023 คงหนีไม่พ้น การต่อเติมห้องข้างบ้าน เพราะการต่อเติมห้องข้างบ้านนั้นช่วยให้ใช้พื้นที่ว่าง ได้เกิดประโยชน์สูงสุด และนอกจากนั้น ยังทำให้เกิดมุมใหม่เล็กๆ ข้างบ้าน
ไอเดียต่อเติมห้องข้างบ้าน เทรนด์ที่กำลังมาแรง
ซึ่งจะเป็นห้องที่ใช้งาน ได้หลากหลายแต่โดยทั่วไป มักจะต่อเติมห้องข้างบ้านไว้ เพื่อให้เป็นห้องนั่งเล่น ห้องนั่งจิบกาแฟ หรือเป็นโรงต้นไม้ และอีกต่างๆมากมาย ส่วนในการทำนั้น ถือว่าต้องใช้เวลา และความพยายามในระดับ หนึ่งทีเดียวอาจเป็นอย่างนั้น เพราะต้องตามหาช่าง ซึ่งช่างที่มาต่อเติม ก็อาจจะไม่ใช่ช่างที่ทำบ้าน ของเราใรตอนแรกจึงเป็น เรื่องสำคัญที่จะศึกษาปัญหา และสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับคนอื่นเพื่อใช้ใน การประกอบการตัดสินใจ
8 อย่างที่ต้องทำก่อนต่อเติมบ้าน
1.วางแผนสิ่งที่ต้องการทำ
สิ่งแรกที่ต้องทำแน่นอนคือการวางแผน โดยการเขียนออกมาลงบนกระดาษ หรือไอแพด ทั้งจุดประสงค์ของการต่อเติม ว่าทำเพื่ออะไร เพื่อความต้องการส่วนตัว หรือเพื่อการซ่อมแซม เพราะทั้งสองจุดประสงค์นี้จะใช้ทั้งงบประมาณ และการออกแบบที่ต่างกัน เช่นการออกแบบสำหรับ การต่อเติมเพื่อซ่อมแซมก็จะ บ้านสวย เน้นการแก้ไขจุดที่เสียหายเป็นหลัก งบประมาณต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามจุด
2.ตรวจดูพื้นที่
เมื่อวางแผน และรู้จุดประสงค์การต่อเติมบ้านครั้งนี้แล้ว ให้เริ่มตรวจดูพื้นที่ของเราก่อน เช่น หากเราต้องการต่อเติมในส่วนห้องครัวให้ดูพื้นที่ว่าเราสามารถต่อเติมหรือดัดแปลงได้มากแค่ไหน หรือหากเป็นห้องน้ำ ให้ตรวจดูท่อน้ำต่างๆว่าวางไว้จุดใด และเปลี่ยนแปลงได้มากแค่ไหน
แต่ไม่ว่าจะจุดไหนของบ้านก็ต้อง สังเกตเรื่องสายไฟต่างๆ ให้ดี เพราะแน่นอนว่าสายไฟจะ อยู่ภายในบ้านทุกห้องแน่นอน การต่อเติมอาจต้องระมัดระวังเรื่องไฟฟ้าให้ดีเช่นกัน แต่จะมีจุดที่แตกต่าง และมีรายละเอียดมากกว่า จุดอื่นจุดหนึ่ง นั่นคือบริเวณด้านนอกบ้าน หากเราจะต่อเติมอะไรที่ใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น ต้องตรวจดูให้ดีว่า เราสามารถทำได้หรือไม่
3.ตั้งงบประมาณ
การต่อเติมบ้านหนึ่งครั้ง แน่นอนว่าต้องใช้เงินมากจำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความต้องการ ขนาด รูปแบบ และคุณภาพของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ หากเราไม่ได้เน้นการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ หรือเน้นงานอาร์ตสีสันสวยงาม ก็อาจประหยัดงบประมาณ ไปได้ระดับหนึ่ง แต่งบประมาณที่จะใช้กับเรื่องวัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเติมนั้น ควรจะใช้คุณภาพที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน
4.ปรึกษาสถาปนิกหรือช่างซ่อมบ้าน
การต่อเติมบ้าน ที่ดี นั้นเราควรวางแผน และออกแบบด้วยตัวเองก็จริง แต่การมีช่างหรือสถาปนิก ที่ให้คำปรึกษาเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบ้านของบางคนมี อายุนานหลายปีแล้ว โครงสร้างบ้านหรือส่วนต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากบ้านที่เก่ามากๆและต้องการต่อเติมที่ค่อนข้างมากก็ไม่ ควรทำด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้บ้านเสียหายลุกลามได้
แต่สิ่งที่ตามมาสำหรับการปรึกษาสถาปนิก หรือช่างก็อาจต้องใช้งบประมาณมากขึ้นหน่อย วิธีที่ดีที่สุดคือเราออกแบบคร่าวๆไปก่อนแล้วลองปรึกษาช่าง ว่าสามารถทำได้ หรือไม่หรือต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างไร
5.หาช่างรับเหมา
หากการต่อเติมที่เราต้องการเป็นการต่อเติมใหญ่ที่ใช้วิธีการและเวลาที่เยอะ ควรหาช่างรับเหมาที่จะ ช่วยต่อเติมบ้านให้เรา เลือกใช้ช่างรับเหมาที่มีคุณภาพ โดยการเลือกช่างนั้นควรพูดคุย และปรึกษาคร่าวๆก่อน และดูว่าเขาเข้าใจสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ หรือความสามารถและทีมงานของเขาเป็นอย่างไร
เพราะปัญหาบ้านต่างๆที่เกิดขึ้นส่วนมาก มักมาจากการพูดคุยกับผู้รับเหมาไม่เข้าใจ หรือผู้รับเหมาไม่ได้คุณภาพ ต่อเติมบ้านออกมาไม่ได้คุณภาพต้องมาแก้ไขใหม่ ดังนั้นควรเลือกให้ดี
6.จัดเก็บบ้านให้พร้อม
เมื่อมีแผนการที่แน่นอนและทำการตกลงกับ ผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว ควรนัดวันให้ดีและเริ่มจัดบ้านให้พร้อม สิ่งของต่างๆในบริเวณที่ต้องการต่อเติมควรย้ายออกให้หมด เพื่อความสะดวกในการทำงานของช่าง เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีฝุ่นและมีความสกปรกเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากขนย้ายสิ่งของให้เรียบร้อยการทำความสะอาดก็จะง่ายตามไปด้วย
7.ขออนุญาต
หลายคนอาจมีคำถามว่าการต่อเติมบ้าน ต้องขออนุญาตไหม ตามจริงแล้วการต่อเติมนั้นจะต้อง ขออนุญาตก็ต่อเมื่อการต่อเติมของเราจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวบ้าน ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่หลังคา จำนวนชั้น หรือดัดแปลงโครงสร้างของบ้าน ก็ควรทำเอกสารขออนุญาต กับหน่วยงานท้องที่เสมอ
แต่หากการต่อเติมมีการเพิ่มหรือลดขนาดไม่เกิน 5 ตารางเมตร หรือไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลงโครงสร้างของตัวบ้านก็สามารถต่อเติมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ดังนั้นควรตรวจดูและศึกษาให้ดีเสมอก่อนทำการต่อเติมบ้าน
8.บอกเพื่อนบ้านก่อน
เมื่อเตรียมตัวทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งให้เพื่อนบ้านรู้ก่อนถึงวันต่อเติม เพราะเสียงดังจากการทำงาน หรือการใช้พื้นที่ขนส่งหรือจัดวางสิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ อาจทำให้เพื่อนบ้านรู้สึก ไม่ดีได้หากไม่มีการพูดคุย เพื่อบอกกล่าวหรือตกลง กับให้เรียบร้อย เพื่อบ้านที่ต่อเติมใหม่เราจะได้อยู่อย่างมีความสุขแทน ที่จะต้องมาผิดใจกับเพื่อนบ้าน
ไอเดียต่อเติมห้องข้างบ้าน
1.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียว
ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียว เหมาะสำหรับคนที่ชอบปลูกต้นไม้ แสงธรรมชาติ หรืออยู่ในพื้นที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย การต่อเติมพื้นที่ข้างบ้าน พร้อมหลังคาแบบโปร่งนี้ ถือได้ว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก
2.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่นั่งชิล
ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่นั่งชิล โดยการเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างบ้านให้เป็นบาร์ขนาดเล็ก ๆ เหมาะสำหรับใครที่ชอบการดื่มด่ำบรรยากาศชิลล์ ๆ ในยามเช้าหรือตอนเย็น
3.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่ห้องนอน
การเปลี่ยนพื้นที่ข้างบ้าน เป็นห้องนอนขนาดเล็ก ๆ เหมาะสำหรับใครที่มีเพื่อน หรือญาติมาเยี่ยมเยือนบ่อย ๆ ซึ่งในบางครั้งอาจจะต้องมีการค้างคืน ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ ห้องนอนขึ้นมา ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
4.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
เหมาะกับใครที่ชอบความเงียบสงบเป็นพิเศษในช่วงเวลาที่ต้องอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเพื่อการศึกษา หรืออ่านเพื่อผ่อนคลาย การต่อเติมพื้นที่ สำหรับอ่านหนังสือขึ้นมาถือ ได้ว่าช่วยเพิ่มพื้นที่ที่ เป็นส่วนตัวและสร้างบรรยากาศที่ เหมาะกับการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่ใช้สมาธิมากยิ่งขึ้น
5.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่ทำงานขนาดเล็ก
เพราะแน่นอนว่าในช่วงที่ผ่าน ๆ มา หลายคนคงต้องทำงานอยู่บ้าน โดยต้องใช้ห้องนอน หรือพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของบ้านในการทำงาน ซึ่งไม่มีความเป็นส่วนตัว ทำให้สมาธิในการทำงานลดน้อยลง ดังนั้นการต่อเติมห้องข้าง บ้านเป็นพื้นที่ทำงานขนาดย่อม ๆ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับใครที่ยังคงต้อง Work From Home หรือทำงานเป็นฟรีแลนซ์
6.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่ทำงานขนาดใหญ่
สำหรับใครที่มีพื้นที่ข้าง บ้านขนาดกว้างขวาง แนะนำว่าลองนำ ไอเดียเพิ่มพื้นที่ทำงานขนาดใหญ่ ไปปรับใช้ จะตอบโจทย์สำหรับการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะห้องทำงานขนาดใหญ่ จะทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง สามารถคิด หรือทำงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7.ต่อเติมห้องข้างบ้าน เพิ่มพื้นที่อเนกประสงค์
ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับเด็กเล็ก ไว้สำหรับเล่น หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยให้ภายในบ้านดูมีความเรียบร้อยขึ้น โดยการแบ่งสัดส่วนห้องที่ชัดเจน หรือหากลูกน้อยโตขึ้น จะเปลี่ยนพื้นที่นี้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือเป็นพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงก็ได้เช่นเดียวกัน
อยากต่อเติมข้างบ้านต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
การต่อเติมข้างบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน มีสิ่งจะต้องคำนึงถึงก่อนการวางแผนเริ่มงานก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร หรือเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในภายหลังด้วย โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนต่อเติมข้างบ้าน ได้แก่
1.ระยะห่างระหว่างตัวบ้านและที่ดินบ้านใกล้เคียง
ก่อนที่จะเริ่มต่อเติมข้างบ้าน สิ่งแรกที่จะต้องดูนั่นคือเรื่องของระยะห่างระหว่างโครงสร้างที่จะต่อเติม กับที่แนวเขตดินบ้านติดกันว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาภายหลังจากการก่อสร้างไปแล้ว
โดยระยะห่างระหว่างตัวบ้านและที่ดินของบ้านที่ติดกัน มีข้อกำหนดดังนี้ การต่อเติมข้างบ้านแบบเป็นผนังทึบไม่มีช่องแสง จะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร การต่อเติมข้างบ้านแบบมีประตู หน้าต่าง กระจกใส ช่องลมระบายอากาศ ช่องแสง จะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร
การต่อเติมหลังคาหรือกันสาด จะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
แต่ถ้าหากต้องการต่อเติมให้ชิดกับแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกัน ก็สามารถเจรจากับเพื่อนบ้านฝั่งที่จะต่อเติม และหากเพื่อนบ้านยินยอมก็จะต้องทำหนังสือยินยอมให้เป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อย จึงจะสามารถต่อเติมให้ชิดกับแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกันได้
2.ผลกระทบต่อโครงสร้าง
ในการต่อเติมข้างบ้านจะเป็นการก่อสร้างโครงสร้างใหม่ ให้เข้ากับโครงสร้างบ้านเดิม ซึ่งปัญหาเรื่องการทรุดตัวจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากโครงสร้างบ้านเดิมจะอยู่บนเสาเข็มที่ตอกไปแล้ว
แต่เมื่อมีการต่อเติมผนังที่เป็นโครงสร้างเพิ่มขึ้นมา ปัญหาที่พบได้บ่อยจะเป็นเรื่อง การทรุดตัว แตกร้าว เกิดรอยแยกของผนังออกจากอาคารเดิม รอยต่อหลังคาเกิดการรั่วซึม
ซึ่งถ้าหากจะป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นสามารถทำได้ด้วยการตอกเสาเข็มเพิ่ม สำหรับโครงสร้างใหม่ และต้องวางแผนป้องกันล่วงหน้าเอาไว้ให้ดีในบริเวณที่เชื่อมกันระหว่างส่วนที่ต่อเติมและโครงสร้างเดิม เพื่อป้องกันปัญหารั่วซึมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3.ขนาดของการต่อเติม
ในการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ข้างบ้าน หน้าบ้าน หรือหลังบ้าน จะไม่สามารถต่อเติมแบบปิดทึบทั้งหมดจนเต็มที่ดินได้ เนื่องจากมีกฎหมายเกี่ยวกับการร่นระยะอาคารและที่เว้นว่างอยู่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดอัคคีภัย ง่ายต่อการก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมไปถึงสร้างสุขอนามัยให้กับการอยู่อาศัยที่ดีด้วย
โดยระยะร่น จะวัดตำแหน่งจากถนนสาธารณะไปจนถึงแนวอาคาร ส่วนที่เว้นว่างจะวัดจากเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งจากด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง ซึ่งถ้าหากเป็นที่อยู่อาศัยตามกฏหมายแล้ว จะต้องมีพื้นที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
4.ความยิมยอมของเพื่อนบ้าน
ถึงแม้ว่าการวางแผน ต่อเติมข้างบ้าน ของคุณจะขออนุญาตอย่างถูกกฎหมาย และคำนวณพื้นที่มาอย่างดีแล้ว ว่าจะไม่กระทบกับเพื่อนบ้านรั้วติดกัน แต่เพื่อให้เกิดความสบายใจทั้งกับบ้านเราและเพื่อนบ้าน ก็ควรจะแจ้งกับเพื่อนบ้านไปก่อนว่าเราจะทำการต่อเติมบ้าน ในวันไหน ช่วงเวลาไหน และเสร็จสิ้นเมื่อไร
เพราะถ้าหากไม่มีการแจ้งให้เพื่อนบ้านได้รับทราบก่อน และมีการต่อเติมที่ส่งผลกระทบทั้งเรื่องเสียง ฝุ่น หรือมลภาวะต่างๆ ก็อาจจะเสี่ยงที่เราจะถูกฟ้องร้องได้
5.การขออนุญาตต่อเติมบ้าน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในการก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมบ้านจะต้องขออนุญาตต่อเติมให้ถูกกฎหมาย
เช่น การต่อเติมพื้นที่ข้างบ้านมากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป เจ้าของบ้านจะต้องทำหนังสือขออนุญาต และยื่นให้กับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาก่อน เพื่อป้องกันการถูกสั่งรื้อเพราะต่อเติมบ้านอย่างผิดกฎหมาย ที่จะต้องเสียทั้งเวลาและเงินในการรื้อถอน