7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ ในบ้านที่นาซารับรอง ดูดสารพิษได้ แต่งบ้านก็สวย

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ รวมรายชื่อต้นไม้ฟอกอากาศที่นาซารับรอง ดูดซับสารพิษได้จริง ปลูกในบ้านหรือภายในบ้านจัดสรรช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ แถมยังแต่งบ้านได้สวยอีกด้วย มลภาวะทางอากาศในเมืองไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกที ทั้งฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันจากยวดยานพาหนะ

ที่เป็นตัวการหลักทำให้อากาศบริสุทธิ์หดหายไปเรื่อย ๆ หลายคนเริ่มหันมาพึ่งพาเครื่องฟอกอากาศ (คลิกอ่าน 10 เครื่องฟอกอากาศกรองฝุ่น PM2.5 พร้อมดักจับเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้) แต่ก็มีคนที่เริ่มหันมาปลูกและสนใจต้นไม้ ฟอกอากาศภายในบ้านเพื่อดูดซับสารพิษต่าง ๆ กันมากขึ้นจนเกิดเป็นเทรนด์ฮิตขึ้นมา

ซึ่งจากรายงานเรื่อง Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement เป็นการศึกษาค้นคว้าขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (NASA) ร่วมกับ Associated Landscape Contractors of America (ALCA)

ได้ค้นพบว่า ไม้ประดับธรรมดาที่ปลูกในบ้านหรือที่เราใช้ตกแต่งห้อง ต่าง ๆ ของเรานี่แหละ มีประสิทธิภาพในการดูดซับและกำจัดสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เช่น สารฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน เบนซิน และสารมลพิษอื่น ๆ เรามาดูตัวอย่างบางส่วน

ของต้นไม้ฟอกอากาศที่ดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับจากนาซาว่าสามารถฟอกอากาศบริสุทธิ์ได้จริง และเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างทั่วโลก และยังช่วยให้ห้องเราสวยงามขึ้นอีกเป็นกองเลย

รวมรายชื่อต้นไม้ฟอกอากาศที่นาซารับรอง

1. เดหลี

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

เดหลี (Peace Lily, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Spathiphyllum Species) ต้นไม้ในร่มที่ช่วยดูดซับและกำจัดสารเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน แอมโมเนีย ไซลีน โทลูอีน และสารมลพิษอื่น ๆ ในอากาศได้ มีอายุหลายปี สีขาวสวย มีกลิ่นหอม ความสูงประมาณ 40-70 เซนติเมตร ปลูกใส่กระถางสานเก๋ ๆ ในบ้านโมเดิร์น ไว้ในห้องได้

วิธีปลูกต้นเดหลี
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์  
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง หรือ 2 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 16-32 องศาเซลเซียส

2. เบญจมาศ

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

เบญจมาศ (Chrysanthemum, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dendranthemum grandifflora) ไม้ดอกสีสันสดใสที่คนชอบปลูกในสวนหน้าบ้าน มีส่วนช่วยในการกรองสารพิษอย่าง แอมโมเนียและเบนซีน ซึ่งเป็นสารพิษที่พบมากในพลาสติก ผงซักฟอก และกาว ปลูกง่าย เลี้ยงง่าย มีหลายสายพันธุ์ มีขนาดเล็ก สูงประมาณ 75-80 เซนติเมตร ปลูกจนโตเต็มที่แล้วก็ตัดมาเสียบแจกันประดับตกแต่งบ้านหรือห้องพักได้อีกด้วย

วิธีปลูกเบญจมาศ
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : กลางแจ้ง ริมระเบียง หรือปลูกในห้องนั่งเล่น, ห้องครัว วิลล่าภูเก็ต
แสง : ชอบแดดจัด
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส

3. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

ตีนตุ๊กแกฝรั่ง (English Ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hedera helix) ช่วยดูดซับและกำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน ไซลีน และโทลูอีน ออกจากอากาศได้ เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นแฉกคล้ายใบตำลึง มีหลากสี หลายพันธุ์ ปรับตัวได้ดี ดูแลไม่ยาก ได้รับความนิยมในการนำไปปลูกเพื่อแต่งบ้านในแถบยุโรป จับมาใส่กระถางวางบนชั้นให้ใบค่อย ๆ ห้อยลงมาก็สวยไปอีกแบบ

วิธีปลูกต้นตีนตุ๊กแกฝรั่ง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-30 องศาเซลเซียส

4. ลิ้นมังกร

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

ลิ้นมังกร (Snake plant หรือ Mother-in-law’s tongue, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Sansevieria laurentii) พืชในร่มที่แข็งแรงและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องดูแลเยอะ มีอายุอยู่ได้หลายปี สามารถกำจัดสารพิษที่ระเหยอยู่ในอากาศได้อย่างดี และยังช่วยผลิตออกซิเจนที่บริสุทธิ์ในเวลากลางคืนด้วย ใบเป็นรูปหอก แข็ง หนา ตั้งตรง มีลวดลาย สีเขียวเข้มอมเทา พร้อมแถบสีเขียวอ่อนพาด หลายคนจึงนิยมนำมาประดับตกแต่งห้อง

วิธีปลูกลิ้นมังกร
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องน้ำ
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส

5. เยอบีรา

7 ต้นไม้ฟอกอากาศ

เยอบีรา (Gerbera Daisy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gerbera Jamesonii) ช่วยดูดซึมสารพิษในอากาศและผลิตออกซิเจนในระดับสูงตอนกลางคืน เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือผู้ที่มีอาการหายใจผิดปกติ เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาประดับตกแต่งสวน แต่ดอกที่บานไม่ทนนาน ร่วงเร็ว จึงดูแลรักษาค่อนข้างยาก Home

วิธีปลูกเยอบีรา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ: 2-3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-25 องศาเซลเซียส

6. พลูด่าง

วิทยาศาสตร์

พลูด่าง (Money Plant หรือ Devil’s ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Epipremnum aureum) สามารถกำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ที่อยู่ในอากาศได้ ปลูกง่าย ตายยาก เหมาะปลูกในอาคารหรือที่อยู่อาศัย มีข้อควรระวังเล็กน้อย คือ ใบเป็นพิษต่อเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง หากมีสัตว์เลี้ยงต้องปลูกให้สูงขึ้นสักนิดนะคะ

วิธีปลูกพลูด่าง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ที่ไหนก็ได้ แต่ให้ห่างจากเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-45 องศาเซลเซียส

7. แก้วกาญจนา

วิทยาศาสตร์

แก้วกาญจนา อโกลนีมา หรือเขียวหมื่นปี (Aglaonema หรือ Chinese Evergreen, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aglaonema commutatum) ช่วยกำจัดเบนซีนและฟอร์มาลดีไฮด์ รวมถึงสร้างออกซิเจนในปริมาณมากด้วย มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมมากกว่า 100 สายพันธุ์ สีสันฉูดฉาดสวยงาม แต่งบ้านได้หลายมุม แต่ผลัดใบง่าย ต้องดูแลเป็นพิเศษ

วิธีปลูกแก้วกาญจนา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

เรื่องที่คุณอาจสนใจ ทาบ้านสีไหนดี